อยากนำเข้าสินค้าจากจีนต้องรู้ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทยจีน
5 ต.ค.

อยากนำเข้าสินค้าจากจีนต้องรู้ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทยจีน

  • By: ttp60950
  • นำเข้าสินค้าจีน
  • ปิดความเห็น บน อยากนำเข้าสินค้าจากจีนต้องรู้ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทยจีน

ประเทศไทยและประเทศจีนนั้น มีความสัมพันธ์กันด้านการทูตมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ในเรื่องของเศรษฐกิจไทยจีนนั้นมีความเชื่อมโยงกัน พ่อค้าแม่ค้าหลายคนที่นำเข้าสินค้าจากจีนนั้น สามารถทำได้ง่ายดายมากขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากข้อตกลงการค้าของประเทศไทยกับจีน เราจะเห็นได้ว่า สองประเทศนี้เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมานานแล้ว แต่หลายคนไม่รู้ ว่าเรื่องนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ ในที่นี้หมายถึงความสัมพันธ์ในด้านของเศรษฐกิจ ซึ่งในเรื่องของการนำเข้าสินค้าจากจีน เราจำเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้การนำเข้าสินค้าจากจีนครั้งต่อๆไป ของเรามีความราบรื่นมากที่สุด และวันนี้เราจะไปทำความเข้าใจ ในเรื่องของความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจไทยจีน ซึ่งส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าจากจีนโดยตรง

 

จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทยจีน

 

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ หรือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจนั้น นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนเป็นอย่างมาก ความสัมพันธ์ที่ว่ามานี้ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น จากการบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน เมื่อเดือนมกราคมปี 2553 และเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการยกระดับข้อตกลงให้มากขึ้น ในปี 2562 ได้มีการเปิดใช้เส้นทางการค้า R3A เส้นทางการค้า R8 R9 และ R12 ซึ่งได้ทำการเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กับประเทศจีนในบริเวณทางตอนใต้ ผ่านทางประเทศเวียดนามและประเทศลาว

 

ได้มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อทั้งประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศจีน อีกทั้งยังมีความร่วมมือกันระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อมต่อทั้งสามสนามบิน อีกทั้งยังมีกลไกคณะกรรมการร่วมว่าด้วยเรื่องของการค้า การลงทุน และความร่วมมือระหว่างเศรษฐกิจของไทยกับจีนอีกด้วย

 

ในเรื่องของการค้าไทยจีน

 

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้นำเข้าสินค้าจากจีนจำเป็นที่จะต้องรู้ ในปี 2562 ประเทศจีนนับว่าเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศไทยเลยทีเดียว โดยประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกเป็นอันดับ 2 ของไทย และนับว่าเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าจากจีน อันดับ 1 ของไทยเลย ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 ของประเทศจีน เป็นแหล่งนำเข้าสินค้าอันดับ 13 และเป็นแหล่งส่งออกอันดับ 17 ของประเทศจีน เมื่อช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการค้าระหว่างไทยจีนอยู่ที่ 79,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศไทยส่งออกไปประเทศจีนมูลค่า 29,172 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนไทยนำเข้าจากจีนมูลค่า 50,327 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศจีนได้ดุลการค้า 21,155 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

 

สินค้าสำคัญที่จีนนำเข้าจากไทย

 

สินค้าสำคัญ ที่ประเทศจีนได้ทำการนำเข้าจากบ้านเรา เป็นสินค้าที่เราน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่ สินค้าเหล่านั้นได้แก่ แฟลชไดรฟ์ ยางพารา แผงวงจรรวมไม้ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ LCD ทุเรียนสด แป้งมันสำปะหลังและมันสำปะหลังแห้ง ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และเคมีภัณฑ์ เรื่องของสินค้าเหล่านี้ผู้ที่นำเข้าสินค้าจากจีนจำเป็นต้องรู้

 

สินค้าสำคัญที่ประเทศจีนส่งออกมาไทย

 

สินค้าที่มีความสำคัญที่ประเทศจีนส่งออกมายังบ้านเรานั้น ส่วนมากก็เป็นสินค้าที่ผู้นำเข้าสินค้าจากจีนนำมาวางขายในบ้านเรา และอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เหล็กกล้า อุปกรณ์ควบคุมและจ่ายไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ของเครื่องปรับอากาศ จอแอลซีดี เห็ดหอมแห้ง และสารกำจัดวัชพืช

 

การลงทุนของประเทศไทยจะประเทศจีน

 

จีนนั้นมีมูลค่าการลงทุนสะสมในไทยจนถึงช่วงปลายปี 2561 อยู่ที่ตัวเลขประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจีนได้สนใจลงทุนในภาคธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมใหม่ โลจิสติกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในทางกลับกัน มูลค่าการลงทุนสะสมของไทยในจีนจนถึงช่วงปลายปี 2561 อยู่ที่ประมาณ 4,270 ล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมหลักที่ไทยเราไปลงทุนในประเทศจีนคือ อุตสาหกรรมฟาร์มสัตว์ อาหารสัตว์ ธัญพืช โรงแรม มอเตอร์ไซค์ ร้านอาหาร และร้านนวดแผนไทยต่างๆ

รับนำเข้าสินค้าจากจีน ทุกประเภท TTP CARGO © All Rights Reserved.2024

พบปัญหาการบันทึกข้อมูล กรุณาลองอีกครั้งในภายหลัง

บันทึกข้อมูลสำเร็จ

ที่อยู่ในการจัดส่งสินค้า จะเป็นไปตามที่อยู่หลัก กรุณาเพิ่มที่อยู่หลักก่อนการยืนยันชำระเงิน

พบปัญหาการบันทึกข้อมูล กรุณาลองอีกครั้งในภายหลัง

คุณต้องการลบที่อยู่นี้หรือไม่

บันทึกที่อยู่เรียบร้อยแล้ว

ที่อยู่จัดส่งสินค้า



*เงื่อนไขบริการขนส่งภายในประเทศเพิ่มเติม >> คลิก

กรุณาเข้าสู่ระบบใหม่

แก้ไขบันทึก

บันทึกช่วยจำของลูกค้า