นำเข้าสินค้าจากจีนสามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?
6 ธ.ค.

นำเข้าสินค้าจากจีนสามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?

  • By: jirarat
  • นำเข้าสินค้าจีน
  • ปิดความเห็น บน นำเข้าสินค้าจากจีนสามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?

เมื่อพูดถึงการสั่งซื้อ นำเข้าสินค้าจากจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพ่อค้าแม่ค้า ห้างร้านต่าง ๆ ที่นำเข้ามาคราวละมาก ๆ เพื่อนำมาจำหน่ายปลีกต่อนั้น หลายคนน่าจะพอทราบดีอยู่แล้วว่าต้นทุนส่วนหนึ่งที่งอกเพิ่มเติมมาจากราคาสินค้า และค่าขนส่งก็คือ เรื่องของภาษีนำเข้า หรือภาษีศุลกากรนั่นเอง โดยหากเป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย หรือผู้ที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งมูลค่าการนำเข้าแต่ละครั้งไม่สูงมากนัก ก็อาจจะไม่ได้นึกถึงวิธีลดหย่อนภาษีสักเท่าไหร่ แต่เมื่อธุรกิจเติบโตไปได้สักระยะ มีการเพิ่มปริมาณการสต๊อกสินค้ามากขึ้นก็แน่นอนว่าพ่อค้าแม่ค้า เจ้าธุรกิจส่วนใหญ่ย่อมต้องมองหาวิธีลดหย่อนภาษี เพื่อเป็นการลดต้นทุน และควบคุมความเสี่ยงที่จะขาดทุนไปในตัว อย่างไรก็ตามการลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนถือว่าแตกต่างไปจากวิธีลดหย่อนภาษีที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างการใช้ใบเสร็จค่าใช้จ่ายของบริษัทเป็นหลักฐานในการยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ทันที ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายถึงวิธีลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนให้ได้ทราบกันว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ และต้องมีวิธีการอย่างไร ใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?
ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนได้ด้วยเงื่อนไข ACFTA Z(Asean-China Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หากว่ากันตามเงื่อนไขของศุลกากรก็ต้องบอกว่าการสั่งซื้อ นำเข้าสินค้าจากจีนนั้นสามารถยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ เพราะประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ รวมไทยได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับทางจีนไว้ ทำให้สินค้าที่นำเข้า ส่งออกในกลุ่มประเทศนี้จะได้รับการยกเว้น หรือลดหย่อนภาษีเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจริงต้องบอกว่าสินค้าทุกชิ้นที่เราทำการสั่งนำเข้าจากจีนนั้นไม่ได้เข้าเงื่อนไขทั้งหมด โดยสินค้าที่จะได้สิทธิยกเว้น หรือลดหย่อนภาษีศุลกากรจะต้องมีเอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า กล่าวคือสามารถยืนยันได้ว่าสินค้าชิ้นนั้น ๆ เป็นสินค้าที่ผลิตในจีน โดยผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนถูกต้อง อยู่ในฐานข้อมูลภาษีของจีนนั่นเอง กล่าวคือหากร้านค้าผู้จำหน่าย หรือผู้ผลิตไม่สามารถออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ก็เท่ากับว่าสินค้าชิ้นนั้น ๆ ที่เราสั่งนำเข้ามาไม่สามารถยื่นขอลดหย่อนภาษีศุลกากรในบ้านเราได้นั่นเอง
ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอลดหย่อนภาษีได้ทุกรูปแบบ จุดหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของธุรกิจมักทำพลาดในขั้นตอนการยื่นขอลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนก็คือ การขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากผู้ขาย หรือโรงงานผู้ผลิตนั่นเอง เพราะในความเป็นจริงแล้วใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ามีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ และมีเพียงบางรูปแบบที่สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ หรืออาจจำแนกให้เข้าใจง่าย ๆ ได้เป็นสองรูปแบบ ก็คือ ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบ Ordinary Certificate Origin ซึ่งเป็นใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีผลในทางธุรกิจเท่านั้น กล่าวคือสามารถรับรองได้จริงว่าสินค้าชิ้นนั้น ๆ ผลิตในจีนจริง มีสถานที่ หรือโรงงานผลิตที่ตรวจสอบได้ชัดเจน แต่ไม่มีผลต่อการใช้ลดหย่อนภาษีตามมาตรการใด ๆ และอีกหนึ่งรูปแบบก็คือ ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าประเภท Form ซึ่งมีผลต่อการใช้เป็นหลักฐานในการขอลดหย่อนภาษีแก่ศุลกากร โดยใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบนี้จะมีชื่อต่อท้ายตามมาตรการ หรือเงื่อนไขการให้สิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษีที่แตกต่างกันออกไป โดยรูปแบบที่นิยมใช้กันในการยื่นขอลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เจ้าของธุรกิจก็คือรูปแบบ Form E หรือก็คือรูปแบบการลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไข Acean China Free Trade Area นั่นเอง แต่นอกเหนือจากรูปแบบ Form E แล้วก็ยังมีใบรับรองฯรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถใช้ยื่นขอลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนได้อีกหลายรูปแบบด้วยกัน ตัวอย่างเช่น Form A, Form FTA เป็นต้น ซึ่งพ่อค้าแม่ค้า เจ้าของธุรกิจที่ต้องการขอลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนให้ได้สิทธิประโยชน์การลดหย่อนสูงสุดก็อาจศึกษาเงื่อนไข มาตรการลดหย่อนที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อจะได้สามารถเลือกขอรับใบรับรองฯที่เหมาะสมกับสินค้าที่สั่งนำเข้ามากที่สุด

รับนำเข้าสินค้าจากจีน ทุกประเภท TTP CARGO © All Rights Reserved.2024

พบปัญหาการบันทึกข้อมูล กรุณาลองอีกครั้งในภายหลัง

บันทึกข้อมูลสำเร็จ

ที่อยู่ในการจัดส่งสินค้า จะเป็นไปตามที่อยู่หลัก กรุณาเพิ่มที่อยู่หลักก่อนการยืนยันชำระเงิน

พบปัญหาการบันทึกข้อมูล กรุณาลองอีกครั้งในภายหลัง

คุณต้องการลบที่อยู่นี้หรือไม่

บันทึกที่อยู่เรียบร้อยแล้ว

ที่อยู่จัดส่งสินค้า



*เงื่อนไขบริการขนส่งภายในประเทศเพิ่มเติม >> คลิก

กรุณาเข้าสู่ระบบใหม่

แก้ไขบันทึก

บันทึกช่วยจำของลูกค้า