อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันการเลือกสั่งซื้อ นำเข้าสินค้าจากจีนถือเป็นหนึ่งช่องทางการเลือกซื้อเลือกหาสินค้าที่คุ้มค่าช่องทางหนึ่งสำหรับนักช้อปไทยเรา โดยการสั่งซื้อสินค้าจากจีนอาจทำให้ได้สินค้าหลาย ๆ ชิ้นที่คุณภาพดีกว่า ดีไซน์สวยงามถูกใจกว่า ในเรทราคาที่ถูกกว่าด้วย และด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ก้าวกระโดดขึ้นมาเรื่อย ๆ ก็ช่วยทำให้นักช้อปรายย่อย หรือผู้บริโภคทั่วไปอย่างเรา ๆ สามารถสั่งซื้อ นำเข้าสินค้าจากจีนได้ด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์เจ้าดังรายต่าง ๆ ของจีน โดยไม่ต้องพึงพาบริการฝากซื้อ หรือรับหิ้วใด ๆ ซึ่งนักช้อปมือใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์สั่งนำเข้าสินค้าจากจีนมาก่อนก็สามารถศึกษาขั้นตอน วิธีสั่งซื้อผ่านข้อมูลที่มีแบ่งปันอยู่ทั่วไปบนอินเตอร์ หรือแพลตฟอร์มโซเชียลฯต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งที่นักช้อปมือใหม่ที่สนใจสั่งนำเข้าสินค้าจากจีนเจอกันก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีสั่งซื้อสินค้าจากจีนบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีแบ่งปันกันอยู่ตามช่องทางต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตนั้นมักมีการใช้ศัพท์เฉพาะที่ใช้กันในแวดวงธุรกิจนำเข้า ส่งออกสินค้า ซึ่งหลาย ๆ คำมือใหม่อาจจะไม่เข้าใจ หรือเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากความหมายจริง ๆ ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาศัพท์เฉพาะที่ควรรู้ ซึ่งมักจะได้ยินได้เห็นในขั้นตอนต่าง ๆ ของการสั่งนำเข้าสินค้าจากจีนมาอธิบายให้ได้ทราบกัน
ชิปปิ้ง(Shipping) คำแรกที่แน่นอนว่าจะได้พบได้เห็นกันบ่อย ๆ ในการขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากจีน หรือกระทั่งการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งนักช้อปมือเก่าย่อมเข้าใจความหมายกันเป็นอย่างดี แต่นักช้อปมือใหม่บางส่วนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไรก็คือคำว่า “ชิปปิ้ง” นั่นเอง โดยความหมายนั้นตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ(Shipping) ที่หมายถึงการขนส่งสินค้าทางเรือ แต่ความหมายที่นิยมใช้งานกันในบริบทจริงนั้นจะครอบคลุมความหมายถึงการขนส่งสินค้าที่กว้างกว่า โดยบ่อยครั้งมักถูกนับรวมการขนส่งทางบก ทางอากาศ หรือก็คือรถ และเครื่องบินเข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น “ผู้ให้บริการชิปปิ้ง” มักจะถูกใช้เรียกบริษัทผู้ให้บริการขนส่ง นำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งไม่ได้จำกัดรูปแบบการขนเฉพาะแค่การขนส่งทางเรือเท่านั้น แต่อาจให้บริการขนส่งโดยรถบรรทุก และเครื่องบินด้วย
คาร์โก้(Cargo) อีกหนึ่งคำที่พบเห็นได้ค่อนข้างบ่อยในข้อมูลแนะนำขั้นตอนการสั่งซื้อ นำเข้าสินค้าจากจีนที่มีแบ่งปันกันอยู่บนแพลตฟอร์มโซเชียลฯต่าง ๆ ก็คือคำว่า คาร์โก้ ความหมายตรงตัวตามคำศัพท์ “Cargo” นั้น หมายถึง การขนส่งสินค้า แต่ในบริบทการใช้งานจริงในแวดวงการนำเข้า ส่งออกมักมีการขยายลักษณะการใช้ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นตามความหมายที่ต้องการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น หมายถึงการขนส่งที่เจาะจงรูปแบบอย่างการขนส่งสินค้าโดยตู้บรรจุสินค้าขนาดใหญ่, ใช้เรียกชื่อบริการขนส่งของผู้ให้บริการเช่น Air Cargo ที่ใช้เรียกบริการขนส่งสินค้าของสายการบินต่าง ๆ
Freight อีกคำหนึ่งที่จะได้พบเจอกันเรื่อย ๆ ในการสั่งนำเข้าสินค้าจากจีน หรือขั้นตอนนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศใด ๆ ก็คือ เฟรท(Freight) ซึ่งมีความหมายตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษที่หมายถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง แต่ในหลาย ๆ บริบทของการใช้งานจริง ค่า Freight นั้นอาจไม่ได้นับเฉพาะแค่ค่าขนส่งสินค้าเท่านั้น ยังอาจถูกนับรวมถึงค่าธรรมเนียม ค่าประกัน ภาษีต่าง ๆ ที่ผู้ให้บริการจะดำเนินการชำระแทนเราด้วย ดังนั้นหากถูกเรียกเก็บ Freight จากผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนรายใดจึงควรตรวจเช็ค หรือสอบถามกับทางผู้ให้บริการให้ชัดเจนก่อนดำเนินการชำระด้วยว่ายอดที่เรียกเก็บนั้น รวมค่าบริการอื่น ๆ แล้วหรือยัง เพื่อป้องกันปัญหาการถูกเรียกเก็บยอดซ้ำซ้อน หรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยอดค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ ในการนำเข้าสินค้าแต่ละครั้ง