
เนื่องด้วยสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา ที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศจีนและสหรัฐสหรัฐอเมริกานี้ ส่งผลให้สถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดความตึงเครียด ด้วยทั้งสองประเทศเป็นสองมหาอำนาจยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจ และปัญหานี้ดูเหมือนจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคตขึ้นไปอีก
หากเราย้อนดูเรื่องของสงครามการค้า และลองมองมาที่ประเทศไทยของเรา แท้จริงแล้วบ้านเราก็เคยท้าทายมหาอำนาจอย่างประเทศจีนเช่นเดียวกัน ทั้งในเรื่องของการตั้งกำแพงภาษีที่สูงลิ่ว ไปจนถึงการสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากจีน หรือการติดต่อซื้อขายกันโดยสิ้นเชิงเลย โดยเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของบ้านเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และยกมาเป็นกรณีศึกษามากเลยทีเดียว ดังนั้นในวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องของ ปัญหาข้อพิพาท ในเรื่องของการนำเข้าสินค้าจากจีนเข้ามาในประเทศประเทศไทย ทำไมแต่ก่อนเราเคยห้ามนำเข้าสินค้าจากจีน เกิดปัญหาอะไรขึ้น
จุดเริ่มต้นการห้ามนำเข้าสินค้าจากจีน
ทั้งเรื่องของการตั้งกำแพงภาษี รวมถึงการสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากจีนเข้ามาเรา ถูกสั่งห้ามโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้น โดยมีการออกประกาศคณะปฏิวัติ ถูกระบุไว้ในฉบับที่ 5 ประกาศวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2502 มีความว่า
โดยที่ปรากฏว่าสินค้าต่างๆ ที่ผลิตหรือมีถิ่นกำเนิด ในประเทศจีนคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศประเทศไทย ส่วนมากเป็นสินค้าประเภทไม่จำเป็น และมักจะนำเข้ามาการลักลอบ เป็นการยุ่งยากแก่การกวดขัน ควบคุม ทั้งเป็นการเสียเปรียบในแง่ดุลการค้า คณะปฏิวัติจึงเห็นสมควร ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิต หรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์ เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย
ข้อห้ามและบทลงโทษ
นั่นคือการห้ามไม่ให้นำสินค้าที่มีการผลิตหรือมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน หรือก็คือห้ามนำเข้าสินค้าจากจีน เพราะถือว่าประเทศจีนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ห้างสินค้าเหล่านี้เข้ามาในอาณาจักรไทยของเรา โดยที่ผู้นำเข้าสินค้าจากจีนเข้ามานั้น จะถือว่ามีมีความผิดตามกฎหมายตามศุลกากร ฐานนำเข้าของต้องห้ามเข้ามาในประเทศไทย
และไม่ใช่แค่ผู้นำเข้าสินค้าจากจีนเท่านั้น แม้แต่ผู้ที่นำสินค้าเหล่านี้มาขาย ก็ถือว่ามีมีความผิดด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ที่ทำการขายสินค้า หรือนำเข้าสินค้าจากจีนเหล่านี้เข้ามาก่อนที่จะมีการประกาศดังกล่าว ให้ทำการแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บของเหล่านี้ต่อนายอำเภอท้องถิ่น โดยมีระยะเวลากำหนดอยู่ที่ 15 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้มีไว้ให้ครอบครองหรือให้ขาย โดยเมื่อพ้นกำหนดจากประกาศเหล่านี้ประมาณหนึ่งเดือน ห้ามให้มีสินค้าเหล่านี้อยู่ในครอบครองเลยแม้แต่นิดเดียว
นอกจากนี้ยังถือว่าคำสั่งดังกล่าวที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีผลในการใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495 และหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายนั่นเอง
สรุปข้อห้ามดังกล่าว
สรุปแล้ว ของที่ห้ามนำเข้าและห้ามนำมาขายจากประเทศไทย แน่นอนว่าเป็นสินค้าจากประเทศจีนโดยตรงนั้นเอง นอกจากนี้หากใครต้องการที่จะบิดพลิ้ว ยกตัวอย่างเช่นการนำเข้าผ่านประเทศที่สาม ก่อนที่จะนำเข้ามาในประเทศไทยอีกต่อหนึ่ง ก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน แต่ถึงดูมีปัญหาในขณะนั้น ความสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศจีนยังถูกสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ แต่ในปีพ.ศ. 2498 จอมพลป. พิบูลสงคราม ก็ได้ส่งคณะทูตที่เรียกว่า “คณะทูตใต้ดิน” ไปหาทางเจรจา และหาลู่ทางเปิดความสัมพันธ์การค้าไทยจีนตั้งแต่ตอนนั้น ดังนั้นนี่เองจึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์การค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน